BMI คืออะไร ทำไมก่อนดูดไขมันต้องเช็ค BMI

BMI คืออะไร ทำไมก่อนดูดไขมันต้องเช็ค BMI

ค่า BMI สำหรับการดูดไขมันคืออะไร?

BMI  อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง เป็นค่าที่นิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่าใครน้ำหนักตัวเกินหรืออาจเป็นโรคอ้วน และใช้สำหรับประเมินการดูดไขมันในการดูดไขมันผู้ที่เหมาะจะทำศัลยกรรมดูดไขมันควรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 นั้นกำลังดีเพราะการดูดไขมัน (Liposuction) เหมาะสำหรับผู้ที่มีรูปร่างและน้ำหนักตัวที่ไม่อ้วนมาก ต้องการจะมีสัดส่วนที่ดีขึ้นหรือต้องการที่จะมีสัดส่วนในแบบที่ต้องการ และมีบริเวณที่มีการสะสมของไขมันที่กำจัดได้ยาก แต่ละคนจะมีน้ำหนักตัว สัดส่วน รวมถึงไขมันไม่เท่ากัน การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญนำไปประเมินรูปร่างคร่าวๆ ได้

ค่าดัชนีมวลกาย BMI คืออะไร
 
ค่า BMI คือค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้นการทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว

สำหรับค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมมีดังนี้

  •  ต่ำกว่า 18.5 น้ำหนักน้อย/ผอม
  • 18.5 – 24.9 รูปร่างปกติ
  • 25.0 – 29.9 รูปร่างอ้วน
  • 30 – 34.9 อ้วนระดับ 1
  • 35 ขึ้นไป อ้วนระดับ 2

ค่า BMI จากโปรแกรมคำนวณนี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และของชายไทยคือ 23.1 (อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)

 

ภัยเงียบ !! โรคที่มาพร้อมกับไขมันสะสม

  1. ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ผู้ที่อ้วนลงพุงนั้นจะทำให้การทำงานของปอดลดลง มีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีไขมันส่วนเกินทำให้อัตราการหายใจลดลงทำให้ทางเดินหายใจหดแคบลง และก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังอย่างหอบหืดตาม
    มาได้

    2. การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ จากผลการศึกษาปี 2012 พบว่าคนอ้วนที่มีพุงและคนที่มีสุขภาพดีพบว่า หากอัตราส่วนของเอวต่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 0.1 ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะการทำงานของหลอดเลือดผิกปกติมากขึ้น เสี่ยงเส้นเลือดแดงแข็งตัวและตีบนั้นก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมา

    3. เสี่ยงต่อเบาหวาน ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่พบในคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันนี้มีการผลิตฮอร์โมนซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

    4. ระดับคอเลสเตอรอลสูงและโรคหัวใจ กรดไขมันอิสระ (ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ) นอกจากนั้นกรดไขมันอิสระยังทำให้ระดับของไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL ลดลง ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจวายตามมาได้

    5. เสี่ยงโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ ผลการศึกษาในปี 2010 พบว่ายิ่งรอบเอวคุณหนามากเท่าไหร่ รวมทั้งยิ่งอ้วนลงพุงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นเท่านั้น สาเหตุเพราะไขมันจะไปอุดตันในเส้นเลือดทำให้เลือดไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่สะดวก สมองจึงขาดออกซิเจน

การดูดไขมันเป็นวิธีกำจัดไขมันที่รวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหารูปร่างให้เข้าที่ เสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัว แต่ไขมันในบางตำแหน่งไม่สามารถลดลงได้ จึงควรปรึกษาศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างใกล้ชิด เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสม ลดความกังวลใจ ภาวะแทรกซ้อนต่ำ และได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

สำหรับการดูดไขมันในบริเวณต่างๆก็ไม่ได้การันตีว่าไขมันจะหมดไปอย่างถาวร เพียงแต่ช่วยให้ดีขึ้นเท่านั้น สมมติมีไขมันอยู่ 100% หลังดูดออกอย่างมากจะออกไป 60% ของไขมันทั้งหมด หลังจากนั้นไขมันก็อาจจะกลับมาใหม่ เวลาทานอะไรเข้าไป แต่อาจจะกลับมาไม่ถึง 100% โดยอาจจะกลับมาแค่ 80% เท่านั้น แต่ถ้าหากไม่มีการควบคุมอาหารที่ดีพอ ไขมันก็อาจกลับมาเท่าเดิมได้เช่นกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้